ตัวกรองผลการค้นหา
ธรรมานุธรรมปฏิบัติ
หมายถึง[ทำมา-] น. การประพฤติธรรมสมควรแก่ธรรม, การประพฤติความดีสมควรแก่ฐานะ.
ธรรมาภิมุข
หมายถึง[ทำมา-] ว. หันหน้าเฉพาะธรรม, มุ่งแต่ยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาภิมุข).
ธรรมาภิสมัย
หมายถึง[ทำมา-] น. การตรัสรู้ธรรม, การสำเร็จมรรคผล. (ส.; ป. ธมฺมาภิสมย).
ธรรมิก,ธรรมิก-
หมายถึง[ทำมิก, ทำมิกกะ-] ว. ประกอบในธรรม, ประพฤติเป็นธรรม, ทรงธรรม, เช่น ธรรมิกราช สหธรรมิก. (ส.; ป. ธมฺมิก).
บดีธรรม
หมายถึงน. หน้าที่ของผัว. (ส. ปติธรฺม).
บุญธรรม
หมายถึงน. เรียกลูกของคนอื่นซึ่งเอามาเลี้ยงเป็นลูกของตัวว่า ลูกบุญธรรม, ถ้าจดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย เรียกว่า บุตรบุญธรรม.
บุตรบุญธรรม
หมายถึง[บุดบุนทำ] (กฎ) น. บุตรของผู้อื่นที่บุคคลได้จดทะเบียนรับเป็นบุตรของตน.
ประดนธรรม
หมายถึงน. ธรรมของเก่า.
ปริยัติธรรม
หมายถึง[ปะริยัดติทำ] น. ธรรมที่จะต้องเล่าเรียนได้แก่พระไตรปิฎก.
เผนธรรม
หมายถึงว. มีปรกติเหมือนฟอง (นํ้า) คือ เป็นอยู่ชั่วคราว; ไม่ถาวร. (ส.).
พิธีธรรม
หมายถึงน. พระสงฆ์จำนวน ๔ รูปที่ได้รับสมมุติให้สวดภาณวารหรือสวดอาฏานาฏิยสูตร ในงานพระราชพิธีตรุษสงกรานต์ หรือสวดอภิธรรมในการศพของหลวง เรียกว่า พระพิธีธรรม.
ภูมิธรรม
หมายถึง[พูมทำ] น. พื้นจิตใจที่มีคุณธรรม.