ตัวกรองผลการค้นหา
อินทรียสังวร
หมายถึงน. ความสำรวมอินทรีย์ ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่ให้ยินดียินร้ายในเวลาเห็นรูป ฟังเสียง ดมกลิ่น ลิ้มรส ถูกต้องโผฏฐัพพะ รู้ธรรมารมณ์ด้วยใจ. (ป.).
กะลาสี
หมายถึงน. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือพลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
บ่าย
หมายถึงน. เวลาในระหว่างเที่ยงกับเย็น. ก. คล้อย เช่น ตะวันบ่าย; หัน, ก้าว; เลี่ยงไป เช่น เฒ่าก็ประดิษฐ์ประดับกายเป็นปะขาวดาบสเบือนบ่ายจำแลงเพศ. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ฟ้อนลาวแพน
หมายถึงน. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
รำลาวแพน
หมายถึงน. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.
โรคประสาท
หมายถึงน. โรคทางจิตใจที่มีความกังวลเป็นอาการสำคัญ คนไข้อาจมีอาการแสดงออกเป็นความกังวล เช่น กลุ้มใจ หงุดหงิด หรืออาจแสดงออกเป็นอาการทางกาย เช่น ใจสั่น เหงื่อออก เป็นลม กลัวที่สูง. (อ. neurosis).
จัตวา
หมายถึง[จัดตะวา] ว. สี่, ชั้นที่ ๔ (เดิมใช้เรียกข้าราชการที่มีลำดับชั้นต่ำกว่าชั้นตรีว่า ชั้นจัตวา) เช่น ข้าราชการชั้นจัตวา; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์รูปดังนี้ ๋ ว่า ไม้จัตวา, ตีนกา ก็เรียก. (ส.; ป. จตุ).
ไตร
หมายถึง[ไตฺร] ว. สาม, คำสำหรับนำหน้าสมาสอย่างเดียว (บางทีใช้ว่า ตรี ก็ได้) เช่น ไตรลักษณ์ ไตรทวาร, แม้จะพูดไว้ท้ายคำบ้าง เช่น ผ้าไตร หอไตร ก็เพราะละท้ายสมาสเสีย คือ ผ้าไตรจีวร หอไตรปิฎก. (ส.).
หลักชัย
หมายถึงน. หลักที่กำหนดไว้ว่าผู้เข้าแข่งขันที่ไปถึงก่อนเป็นผู้ชนะ, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่เป็นหลักยึดเหนี่ยวเพื่อชัยชนะ เช่น พระมหากษัตริย์ทรงเป็นหลักชัยของชาติ; จุดที่หมายแห่งความสำเร็จ เช่น เมื่อศึกษาจบปริญญาตรีก็เท่ากับบรรลุหลักชัยไปขั้นหนึ่งแล้ว.
วรรณยุกต์
หมายถึงน. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียง คือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ่ (ไม้เอก) ้ (ไม้โท) ๊ (ไม้ตรี) ๋ (ไม้จัตวา).
วรรณยุต
เพศ
หมายถึงน. รูปที่แสดงให้รู้ว่าหญิงหรือชาย; (ไว) ประเภทคำในบาลีและสันสกฤตเป็นต้น, ตรงกับ ลิงค์ หรือ ลึงค์; เครื่องแต่งกาย; การประพฤติปฏิบัติตน เช่น สมณเพศ. (ป. เวส; ส. เวษ).