ตัวกรองผลการค้นหา
วรรณคดี
หมายถึงน. วรรณกรรมที่ได้รับยกย่องว่าแต่งดีมีคุณค่าเชิงวรรณศิลป์ถึงขนาด เช่น พระราชพิธีสิบสองเดือน มัทนะพาธา สามก๊ก เสภาเรื่องขุนช้างขุนแผน.
กรองกรอย
หมายถึงว. ไม่ชุ่มชื่น, ไม่สมบูรณ์; ซอมซ่อ (มักใช้แก่การแต่งกาย), ตองตอย ก็ใช้; (กลอน; ถิ่น-ปักษ์ใต้) ตกอับ, แร้นแค้น, เช่น ผัวเมียสองคนจนกรองกรอย. (สังข์ทอง).
ถนัด
หมายถึง[ถะหฺนัด] ก. สันทัด, ชำนาญ, เช่น ถนัดแต่งกลอน. ว. สะดวก เช่น เดินไม่ถนัด; ชัด, แม่นยำ, เช่น เห็นไม่ถนัด; เช่น, ราวกับ, เช่น ถนัดดั่งภูผาหลวง ทุ่มแท้. (ตะเลงพ่าย), สนัด ก็ว่า.
ประดิษฐ,ประดิษฐ-,ประดิษฐ์
หมายถึง[ปฺระดิดถะ-, ปฺระดิด] ก. ตั้งขึ้น, จัดทำขึ้น, คิดทำขึ้น, สร้างขึ้น, แต่งขึ้น. ว. ที่จัดทำขึ้นให้เหมือนของจริง เช่น ดอกไม้ประดิษฐ์, ที่คิดทำขึ้นไม่เหมือนธรรมชาติ เช่น ลายประดิษฐ์. (ส. ปฺรติษฺ; ป. ปติฏฺ).
กันเมียง
หมายถึงน. เด็ก, โบราณเขียนเป็น กันมยง เช่น แลเด็กหญิงถ่าวชาววยงก็ดี อันกันมยงทักแท่ให้แต่งแง่ดูงาม. (ม. คำหลวง ทศพร). (ข. เกฺมง = เด็ก).
บทบูรณ์
หมายถึง[บดทะ-] น. คำที่ทำให้บทประพันธ์ครบพยางค์ตามฉันทลักษณ์ ไม่สู้มีความหมายอะไร เช่น แต่งอเนกนุประการ คำ “นุ” เป็นบทบูรณ์. (ป. ปทปูรณ).
พราหมณะ
หมายถึง[พฺรามมะนะ] น. ชื่อคัมภีร์ศาสนาประเภทหนึ่งในยุคพระเวทของอินเดียโบราณ มีหลายคัมภีร์ด้วยกัน ส่วนใหญ่แต่งร้อยแก้ว ว่าด้วยการประกอบพิธีกรรม มีเรื่องราวของเทพต่าง ๆ ประกอบ. (ส. พฺราหฺมณ).
ฟ้อนลาวแพน
หมายถึงน. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่า แต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ รำลาวแพน ก็เรียก.
รำลาวแพน
หมายถึงน. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือมากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้องและดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.
ฐากูร
หมายถึง[ถากูน] (แบบ) น. รูปเคารพ, เทพเจ้าที่นับถือ; ใช้เสริมท้ายชื่อคนที่มีชื่อเสียง เช่น โควินทฐากูร ชื่อผู้แต่งคัมภีร์กาพย์กลอน. (ส. กฺกุร).
ย่านพาโหม
หมายถึงน. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Paederia วงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีขน กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P. linearis Hook.f. ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยาได้, ตดหมูตดหมา ก็เรียก.
คำหลวง
หมายถึงน. คำประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์กลอนปนกัน คือ มหาชาติคำหลวงและพระนลคำหลวง, คำประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคำหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง.