ตัวกรองผลการค้นหา
ธรรมจรณะ,ธรรมจรรยา
หมายถึงน. การประพฤติถูกธรรม. (ส.).
ธรรมจริยา
หมายถึงน. การประพฤติเป็นธรรม, การประพฤติถูกธรรม. (ส. ธรฺม + ป. จริยา).
ธรรมจาคะ
หมายถึงน. การละธรรม, การละเมิดศาสนา, การทิ้งศาสนา. (ส. ธรฺม + ป. จาค).
ธรรมฐิติ
หมายถึงน. การตั้งอยู่แห่งสิ่งที่เป็นเอง. (ป. ธมฺมิติ).
ธรรมธาดา
หมายถึงน. ผู้ทรงธรรม เช่น สมเด็จพระบรมธรรมธาดามหาสัตว์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์).
ธรรมบาล
หมายถึงน. ผู้รักษาธรรม, ผู้ป้องกันพระศาสนา. (ส.; ป. ธมฺมปาล).
ธรรมปฏิสัมภิทา
หมายถึงน. ปฏิสัมภิทา ๑ ใน ๔ อย่าง คือ ๑. อรรถปฏิสัมภิทา ๒. ธรรมปฏิสัมภิทา ๓. นิรุตติปฏิสัมภิทา ๔. ปฏิภาณปฏิสัมภิทา หมายถึง ปัญญาอันแตกฉานในธรรม คือ ความเข้าใจสาวหาเหตุในหนหลัง, ความเข้าใจถือเอาใจความแห่งอธิบายนั้น ๆ ตั้งเป็นกระทู้หรือหัวข้อขึ้นได้. (ป.).
ธรรมยุต
หมายถึงน. ชื่อพระสงฆ์นิกายหนึ่ง, คู่กับมหานิกาย, ธรรมยุติกนิกาย ก็เรียก.
ธรรมศาสตร์
หมายถึง(โบ) น. ความรู้เกี่ยวกับวิชากฎหมายโดยทั่วไป; คัมภีร์กฎหมายเก่าของอินเดีย, คัมภีร์อันเป็นต้นกำเนิดแห่งกฎหมาย, พระธรรมศาสตร์ ก็เรียก.
ธรรมสถิติ
หมายถึงน. ความตั้งอยู่โดยธรรมดา, ความตั้งอยู่แห่งกฎ, ความตั้งอยู่แห่งยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมิติ).
ธรรมันเตวาสิก
หมายถึง[ทำมัน-] น. อันเตวาสิก (ศิษย์) ผู้เรียนธรรมวินัย. (ส.; ป. ธมฺมนฺเตวาสิก).
ธรรมาธรรม
หมายถึง[ทำมา-] น. ธรรมและอธรรม, ความถูกและความผิด, ยุติธรรมและอยุติธรรม. (ส.; ป. ธมฺมาธมฺม).