ค้นเจอ 330 รายการ

ก่ำเบ้อ

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ผีเสื้อกลางวัน. (ดู ผีเสื้อ ๑).

กระแจะ

หมายถึงน. ชื่อรูปปลอกเหล็กสำหรับจับช้างดุ ทางปลายสัณฐานปากเปิดอย่างคีมคีบเบ้าทองเหลือง มีกำลังหดตัวให้ปลายจดเข้าหากันได้ ที่ริมปากมีงาแซงทำด้วยเหล็กปลายแหลมข้างละอัน ที่โคนปลอกมีที่สำหรับสวมคันไม้ไผ่ที่ทะลวงให้กลวง ร้อยเชือกซึ่งผูกจากปลอกลอดออกมาจากคันไม้ ใช้สำหรับพุ่งเข้าไปเกาะขาช้างข้างใดข้างหนึ่งไว้ เมื่อเกาะได้แล้ว โรยปลายไปผูกกับขอนไม้ไว้เพื่อช้างจะได้ลาก ช้างกำลังดุก็ลากไป งาแซงก็จะฝังลึกเข้าไปทุกทีจนไม่สามารถจะก้าวขาได้ ก็เป็นอันจับได้; (ถิ่น-พายัพ) โซ่หรือกำไลเหล็กที่ทำเป็นปลอกสวมเท้าหน้าช้างทั้งคู่ให้ชิดกัน เพื่อมิให้ช้างเดินได้เร็วจนไกลถิ่นเกินควร ใช้เมื่อปล่อยช้างให้หากินในป่า.

กระบองเพชร

หมายถึงน. ชื่อไม้พุ่มชนิด Cereus hexagonus (L.) Miller ในวงศ์ Cactaceae ลำต้นสูง ๓-๕ เมตร ลำต้นและกิ่งกลม หยักเป็นร่องโดยรอบ มีหนามละเอียด ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอม บานกลางคืน มักปลูกเป็นรั้วบ้าน, ตะบองเพชร ก็เรียก, พายัพ เรียก เขียะ หรือ หนามเขียะ.

กะง้องกะแง้ง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ว. คดไปคดมา, งอไปงอมา.

กะด้าง

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกระด้าง. [ดู กระด้าง ๑ (๒)].

กะทัน

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).

กะแล

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. กาแล, ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่จะเห็นงาม, บางถิ่นเรียกว่า แกแล.

กะอูบ

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะใส่ในกระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).

กินแขก

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) ก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน.

กิ่ว

หมายถึงว. คอดมาก, เล็กตอนกลาง, เช่น คอกิ่ว ท้องกิ่ว หางกิ่ว; (ถิ่น-พายัพ) คอด.

กิ๋ว

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ขนที่ขึ้นบนไฝดำ, ขนเพชร.

เกี๋ยงคำ

หมายถึง(ถิ่น-พายัพ) น. ต้นลำเจียก. (ดู ลำเจียก).

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ