ค้นเจอ 172 รายการ

ส้อมเสียง

หมายถึงน. อุปกรณ์ทำด้วยโลหะเป็นรูปอักษร U มีก้านสำหรับจับยึด เมื่อเคาะจะเกิดเสียงที่มีความถี่คงที่ เป็นเวลานาน ใช้เป็นความถี่อ้างอิง เช่นใช้เทียบเสียงเครื่องดนตรี.

กรง

หมายถึง[กฺรง] น. สิ่งที่ทำเป็นซี่ ๆ สำหรับขังนกเป็นต้น ตั้งอยู่กับที่หรือยกไปได้; ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง. (เห่กล่อม). (เทียบมลายู กุรง; ข. ทฺรุง).

ตลับ

หมายถึง[ตะหฺลับ] น. ภาชนะอย่างหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของเช่นขี้ผึ้งสีปากหรือยา โดยมากมีรูปกลม ๆ ขนาดไม่ใหญ่นัก มีฝาปิด. (เทียบมลายู ตลป ว่า กล่องเล็ก ๆ สำหรับใส่หมาก).

บัญญัติไตรยางศ์

หมายถึงน. วิธีเลขอย่างหนึ่ง ซึ่งกำหนดส่วนสัมพันธ์ของเลข ๓ จำนวนเพื่อหาจำนวนที่ ๔ โดยวิธีเทียบหา ๑ ก่อน แล้วจึงไปหาส่วนที่ต้องการ ด้วยการนำเลขทั้ง ๓ จำนวนที่กำหนดให้และที่ให้หามาคูณหารกันเป็น ๓ ขั้น.

มรสุม

หมายถึง[มอระสุม] น. คราว; คราวลม, คราวพายุ; ลมฝน; ชื่อพายุใหญ่ที่มีลมแรงและมีฝนตกหนัก, โดยปริยายหมายถึงความยุ่งยากเดือดร้อนที่เกิดในบางช่วงชีวิต เช่น มรสุมชีวิต. (เทียบอาหรับ mausim).

กราฟ

หมายถึงน. แผนภูมิที่ใช้เส้น จุด หรือภาพเป็นต้น เพื่อแสดงความเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรตัวหนึ่งเทียบกับความเปลี่ยนแปลงค่าของตัวแปรตัวอื่น; (คณิต) เซตของจุดที่เรียงกันอย่างมีระเบียบตามที่กำหนดขึ้นด้วยสมการหรืออสมการ. (อ. graph).

ตรียัมปวาย

หมายถึง[ตฺรียำปะ-] น. พิธีพราหมณ์ฝ่ายใต้กระทำรับพระอิศวร ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีโล้ชิงช้า ซึ่งกระทำในวันขึ้น ๗ คํ่าตอนเช้า ขึ้น ๙ คํ่าตอนเย็น เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุเวมปาไว).

ตรีปวาย

หมายถึง[ตฺรีปะ-] น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่พระนารายณ์ ซึ่งกระทำในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. (เทียบทมิฬ ติรุปปาไว).

สิ้นฝีมือ

หมายถึงว. เต็มความสามารถที่มีอยู่; หมดความสามารถ; หมดฝีมือ ก็ว่า; ไม่มีใครเทียบความสามารถได้ เช่น ม่านนี้ฝีมือวันทองทำ จำได้ไม่ผิดนัยน์ตาพี่ เส้นไหมแม้นเขียนแนบเนียนดี สิ้นฝีมือแล้วแต่นางเดียว. (ขุนช้างขุนแผน).

ไตรดายุค

หมายถึง[ไตฺร-] น. ชื่อยุค ที่ ๒ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะและอายุของมนุษย์ลดลงเหลือ ๓ ใน ๔ ส่วนเมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค. (ส. เตฺรตายุค; ป. เตตายุค). (ดู จตุรยุค).

หงส,หงส-,หงส์,หงส์

หมายถึง[หงสะ-, หง] น. นกในนิยายถือว่าเป็นนกในตระกูลสูง มีเสียงไพเราะ เป็นพาหนะของพระพรหม; ในวรรณคดีหมายถึงบุคคลที่มีชาติตระกูลสูงและเปรียบการเดินที่งดงามอ่อนช้อยและเป็นสง่าเทียบด้วยการเดินของหงส์. (ป., ส. หํส).

กุญแจ

หมายถึงน. เครื่องสำหรับใส่ประตูหน้าต่างเป็นต้น เพื่อยึดหรือสลักไม่ให้เปิดเข้าออกได้ เวลากดหรือไขออก มีเสียงลั่นดังกริ๊ก มีลูกไข เรียกว่า ลูกกุญแจ, ประแจ ก็เรียก. (ป., ส. กุญฺจิกา ว่า ลูกดาล, เทียบมลายู กุญจี).

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ