ตัวกรองผลการค้นหา
เญยธรรม,ไญยธรรม
หมายถึง[เยยยะทำ, ไยยะทำ] (แบบ) น. ธรรมที่ควรรู้. (ป. เยฺย + ส. ธรฺม).
ภาชนีย,ภาชนีย-
หมายถึง[พาชะนียะ-] (แบบ) น. ของควรแจก, ของควรแบ่ง. ว. ควรแจก, ควรแบ่ง. (ป.).
อิสริย,อิสริย-,อิสริยะ
หมายถึง[อิดสะริยะ-] น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นเจ้า, ความยิ่งใหญ่. (ป. อิสฺสริย; ส. ไอศฺวรฺย).
สถาปัตยกรรมศาสตร์
หมายถึง[สะถาปัดตะยะกำมะสาด] น. วิชาว่าด้วยการออกแบบงานก่อสร้างที่ประกอบด้วยศิลปลักษณะ.
มัทยะ
หมายถึง[มัดทะยะ] น. นํ้าเมา, เหล้า. ว. ซึ่งทำให้เมา, ซึ่งทำให้รื่นเริงยินดี. (ส., ป. มชฺช).
วินัยปิฎก
หมายถึง[วิไนยะปิดก, วิไนปิดก] น. ชื่อปิฎก ๑ ในพระไตรปิฎก.
อินทรีย
หมายถึง[-ซียะ-] น. ร่างกายและจิตใจ เช่น สำรวมอินทรีย์; สติปัญญา เช่น อินทรีย์แก่กล้า; สิ่งมีชีวิต. (ป., ส. อินฺทฺริย).
อินทรีย-
บุษย,บุษย-,บุษย์,บุษยะ,ปุษยะ,ปุสสะ
หมายถึง[บุดสะยะ-, บุด, บุดสะยะ, ปุดสะยะ, ปุดสะ] น. ดาวฤกษ์ที่ ๘ มี ๕ ดวง เห็นเป็นรูปปุยฝ้าย พวงดอกไม้ ดอกบัว หรือ โลง, ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ ก็เรียก. (ส. ปุษฺย; ป. ปุสฺส); แก้วสีขาว; บัว.
สัมปชัญญะ
หมายถึง[สำปะชันยะ] น. ความรู้ตัวอยู่เสมอ, ความไม่เผลอตัว, มักใช้เข้าคู่กับคำ สติ เป็น สติสัมปชัญญะ. (ป.).
บริณายกรัตน์
หมายถึง[บอรินายะกะ-] น. ขุนพลแก้ว, เป็นสมบัติประการ ๑ ในสมบัติ ๗ ประการของพระเจ้าจักรพรรดิ.
ศักย์,ศักยะ
หมายถึง[สัก, สักกะยะ] (ไฟฟ้า) น. พลังงานที่ใช้ดันกระแสไฟฟ้า ณ จุดใดจุดหนึ่ง มีหน่วยเป็นโวลต์.