ตัวกรองผลการค้นหา
ฉกามาพจร,ฉกามาวจร
หมายถึง[ฉะกามาพะจอน, ฉะกามาวะจอน] น. สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ ๑. จาตุมหาราช หรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ๒. ดาวดึงส์ ๓. ยามา ๔. ดุสิต ๕. นิมมานรดี ๖. ปรนิมมิตวสวัตดี. (ป. ฉ + กาม + อวจร).
ประจิ้มประเจ๋อ
หมายถึงว. พูดจาและแสดงกิริยาเสนอหน้าอย่างเด็ก.
เสงี่ยมหงิม
หมายถึง[สะเหฺงี่ยม-] ก. สำรวมกิริยาไม่ค่อยพูดจา.
ติดสำนวน
หมายถึงก. พูดใช้สำนวนมาก ๆ, พูดจาเล่นสำนวน.
ดุบ ๆ
หมายถึงว. เต้นตุบ ๆ, กระดุบ ๆ ก็ว่า.
เราะราย
หมายถึงว. ชอบพูดจาชวนหาเรื่องไม่เลือกหน้า, มักพูดชวนทะเลาะทั่วไป เช่น พูดจาเราะราย ปากเปราะเราะราย ปากคอเราะราย.
นเรนทรสูร,นเรศ,นเรศวร,นเรศูร
หมายถึง[นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).
บริจาริกา
หมายถึง[บอริ-] น. หญิงรับใช้, ประกอบกับคำ บาท เป็น บาทบริจาริกา แปลว่า เมีย, ที่ตัดใช้ว่า บริจา ก็มี เช่น บาทบริจา ทารบริจา อรรคบริจา, หรือตัดใช้ว่า บริจาริก ก็มี. (ป., ส. ปริจาริกา).
กรร
หมายถึง[กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).
มิ
หมายถึงก. เฉย, ไม่ค่อยพูดจา, เช่น รามสูรได้ยินสิ้นสติลงนั่งมิจะทำกระไรได้. (บทระบำตลก พระราชนิพนธ์ ร.๕).
ระมาด
หมายถึงน. แรด. (ข. รมาส).
ทรนาว,ทระนาว
หมายถึง[ทอระ-] ว. ระนาว, มากมาย, เช่น พบโพหนึ่งในไพรสณฑ์ สาขานฤมล แลลำทรนาวสาวสาร. (สมุทรโฆษ), งั่วนาวทรนาวเนก กรูดฉุรเฉกจรุงธาร. (ม. คำหลวง จุลพน).