ตัวกรองผลการค้นหา
วัชระ
หมายถึง[วัดชะระ-] น. ดู วชิระ. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
จาตุรงค,จาตุรงค-,จาตุรงค์
หมายถึง[-ตุรงคะ-] ว. มีองค์ ๔, มีส่วน ๔. (ป. จาตุร + องฺค).
พชระ
หมายถึง[พดชะระ] (กลอน) น. เพชร. (ส. วชฺร; ป. วชิร).
นเรนทรสูร,นเรศ,นเรศวร,นเรศูร
หมายถึง[นะเรนทฺระสูน, นะเรด, นะเรสวน, นะเรสูน] (แบบ) น. พระราชา. (ส. นร + อินฺทฺร + สูร, นร + อีศ, นร + อีศฺวร).
กระวัด
หมายถึง[-หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. (สรรพสิทธิ์).
กรร
หมายถึง[กัน] (โบ) ก. จับ เช่น กรกรรนฤบดี. (สมุทรโฆษ). (ข. กาน่ ว่า ถือ).
ระมาด
หมายถึงน. แรด. (ข. รมาส).
อังคุตรนิกาย
หมายถึง[-คุดตะระ-] น. ชื่อคัมภีร์นิกายที่ ๔ แห่งพระสุตตันตปิฎก แสดงหลักธรรมโดยแบ่งเป็นหมวด เรียงลำดับตามจำนวนหัวข้อธรรมะตั้งแต่ ๑ หัวข้อถึง ๑๑ หัวข้อ.
ประติมากร
หมายถึง[ปฺระติมากอน] น. ช่างปั้น, ช่างแกะสลัก.
อเนกรรถประโยค
หมายถึง[อะเนกัดถะปฺระโหฺยก] น. ประโยคใหญ่ที่มีใจความสำคัญอย่างน้อย ๒ ใจความมารวมกัน และใจความนั้น ๆ จะต้องมีลักษณะเป็นประโยคโดยมีสันธานเป็นบทเชื่อมหรือละสันธานไว้ในฐานที่เข้าใจ.
จตุรมุข
หมายถึง(กลอน) น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม.
จุลอุปรากร
หมายถึงน. ละครประเภทหนึ่ง มีดนตรีเป็นส่วนประกอบสำคัญ ดำเนินเรื่องด้วยการร้องเพลงผสมวงดุริยางค์คล้ายอุปรากรแต่มีบทสนทนา เนื้อเรื่องมีความร่าเริงขบขัน และมักจบลงด้วยความสุข. (อ. operetta).