ค้นเจอ 193 รายการ

ปากหอยปากปู

หมายถึงว. ชอบนินทาเล็กนินทาน้อย; ไม่กล้าพูด, พูดไม่ขึ้นหรือพูดไม่มีใครสนใจฟัง (ใช้แก่ผู้น้อย).

พรรณนา

หมายถึง[พันนะ-] ก. กล่าวเป็นเรื่องเป็นราวอย่างละเอียดให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).

เสียหู

หมายถึงก. สูญเสียหูไป, โดยปริยายใช้ในความดูถูกดูหมิ่น เช่น เรื่องไร้สาระเช่นนี้ ฉันไม่ฟังให้เสียหูหรอก.

ลงอุโบสถ

หมายถึงก. เข้าร่วมสังฆกรรมฟังพระปาติโมกข์ในวันขึ้น ๑๕ คํ่า วันแรม ๑๔ หรือ แรม ๑๕ คํ่าของเดือน (ใช้แก่พระสงฆ์), ลงโบสถ์ ก็ว่า.

วรรณนา

หมายถึง[วันนะ-] น. พรรณนา, การกล่าวถ้อยคำให้ผู้ฟังนึกเห็นเป็นภาพ. (ส. วรฺณนา; ป. วณฺณนา).

วางยา

หมายถึงก. ให้กินยาเพื่อรักษาโรค เช่น หมอวางยาคนไข้ได้ถูกกับโรค, ลอบเอายาพิษให้กิน เช่น โดนวางยาในอาหาร; โดยปริยายหมายความว่า พูดให้เสียหาย.

ทิพโสต

หมายถึง[ทิบพะโสด] น. หูทิพย์ คือ จะฟังอะไรได้ยินทั้งหมด, เป็นอภิญญาอย่าง ๑ ในอภิญญา ๖. (ป. ทิพฺพโสต; ส. ทิพฺยโศฺรตฺร).

น้ำร้อนปลาเป็น

หมายถึง(สำ) น. คำพูดที่ตรงไปตรงมาฟังไม่ไพเราะ เป็นการเตือนให้ระวังตัว แต่ไม่เป็นพิษเป็นภัย, มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าเย็นปลาตาย.

ตรับ,ตรับฟัง

หมายถึง[ตฺรับ] ก. เอาใจใส่คอยฟังข่าวคราวทุกข์สุขหรือความคิดเห็นของผู้อื่นเป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ สดับ เป็น สดับตรับฟัง.

วอกแวก

หมายถึงว. อาการที่จิตใจไม่จดจ่อแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เวลาฟังครูสอนมีสิ่งรบกวนทำให้จิตใจวอกแวก.

พยานบอกเล่า

หมายถึง(กฎ) น. พยานบุคคลซึ่งให้การโดยตนมิได้เห็น ได้ยิน หรือรู้เรื่องมาด้วยตนเอง แต่ได้ยินหรือได้ฟังจากผู้อื่น. (อ. hearsay evidence).

เข้าหู

หมายถึงก. มาให้ได้ยิน (ใช้สำหรับเรื่องราวหรือข่าวคราว) เช่น เรื่องนี้เข้าหูฉันบ่อย ๆ. ว. น่าฟัง (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พูดไม่เข้าหู.

 คำไทย ศัพท์มาใหม่ สแลง จัดกลุ่มตามตัวอักษร ก-ฮ