ตัวกรองผลการค้นหา
รากศัพท์
หมายถึงน. รากเดิมของคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤตเป็นต้น เรียกว่า ธาตุ เช่น กรรมการ มีรากศัพท์มาจาก กรฺ ธาตุ.
คำฟ้องแย้ง
หมายถึง(กฎ) น. คำฟ้องที่จำเลยฟ้องโจทก์มาในคำให้การในเรื่องที่เกี่ยวกับคำฟ้องเดิมของโจทก์, ฟ้องแย้ง ก็ว่า เช่น ยกฟ้องแย้ง.
ลืมตาอ้าปาก,ลืมหน้าอ้าปาก
หมายถึงก. มีฐานะดีขึ้นกว่าเดิมพอทัดเทียมเพื่อน เช่น เดี๋ยวนี้เขาลืมตาอ้าปากได้แล้ว เขาลืมหน้าอ้าปากได้แล้ว, เงยหน้าอ้าปาก ก็ว่า.
ผิดสี
หมายถึง(ปาก) ว. ต่างสีกัน, เดิมใช้แก่คนที่แต่งเครื่องแบบต่างสีกัน เมื่อพบเห็นมักทำให้รู้สึกว่าเป็นคนละพวก.
พวน
หมายถึงน. ชาวไทยพวกหนึ่ง เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในประเทศลาว ส่วนหนึ่งได้อพยพมาตั้งถิ่นฐานอยู่ทางภาคกลางของประเทศไทย.
ถอยหลังเข้าคลอง
หมายถึง(สำ) ก. หวนกลับไปหาแบบเดิม. น. ชื่อกลอักษร; ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดึกดำบรรพ์; บทแผ่นเสียง).
ท่ามกลาง
หมายถึงน. ที่ซึ่งอยู่ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ในท่ามกลางประชาชน. ว. ระหว่างกลางสิ่งแวดล้อม เช่น อยู่ท่ามกลางอันตราย. (ไทยเดิม ท่าม ว่า ที่ เช่น ท่ามเหนือ ท่ามใต้).
แพ้
หมายถึง(ไทยเดิม) ก. ชนะ เช่น อนนเรืองใสงามหนักหนา แพ้พระอาทิตย์. (จารึกสยาม).
ลุ่ยหู
หมายถึงว. อาการที่แพ้อย่างไม่มีทางสู้ (เดิมใช้แก่ปลากัด คือ ฝ่ายแพ้ถูกกัดหูเสียจนหมด).
โจทก์
หมายถึง[โจด] น. (กฎ) บุคคลผู้ฟ้องคดีต่อศาล; ผู้กล่าวหา. (เดิมเขียนเป็นโจทย์). (ป., ส.).
ทะ
หมายถึงคำใช้นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น หรือเป็นคำซํ้าซึ่งคำหน้าเสียงกร่อนไป เช่น
ราก
หมายถึงน. ส่วนของต้นไม้ ตามปรกติอยู่ในดิน มีหน้าที่ดูดอาหารเลี้ยงลำต้น, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น รากผม รากฟัน; เรียกฐานที่อยู่ใต้ดินทำหน้าที่รองรับอาคารว่า รากตึก หรือ ฐานราก; ต้นเดิม, เค้าเดิม, เช่น รากศัพท์.