ตัวกรองผลการค้นหา
อุปโลกน์
หมายถึง[อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นเป็น เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า, อปโลกน์ ก็ว่า. (ป. อปโลกน).
อุปสัมปทา
หมายถึง[อุปะสำปะทา, อุบปะสำปะทา] น. การบวชเป็นภิกษุ. (ป., ส.).
โอม
หมายถึงน. คำที่ประกอบด้วยเสียง ๓ เสียง คือ อ อุ ม [อ่านว่า อะ อุ มะ] รวมกัน ข้างฝ่ายฮินดูหมายถึง พระเจ้าทั้ง ๓ คือ อ = พระศิวะ อุ = พระวิษณุ ม = พระพรหม; ข้างพระพุทธศาสนาเลียนเอามาใช้หมายถึง พระรัตนตรัย คือ อ = อรหํ (พระพุทธเจ้า) อุ = อุตฺตมธมฺม (พระธรรมอันสูงสุด) ม = มหาสงฺฆ (พระสงฆ์) นับถือเป็นคำศักดิ์สิทธิ์, เป็นคำขึ้นต้นของการกล่าวมนตร์. ก. กล่าวคำขึ้นต้นของมนตร์. (ส.).
อุปกิเลส
หมายถึง[อุปะกิเหฺลด] น. เครื่องทำใจให้เศร้าหมอง มี ๑๖ อย่าง มี อภิชฌาวิสมโลภ เป็นต้น. (ป. อุปกฺกิเลส).
กัตรทัณฑ์
หมายถึง[กัดตฺระ-] (แบบ) น. ไม้เท้าคนแก่ เช่น แล้วทรงธารพระกรกัตรทัณฑ์. (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). (ป. กตฺตร = คนแก่ + ทณฺฑ = ไม้เท้า; ส. กรฺตฺร + ทณฺฑ).
กระเกรอก
หมายถึง[-เกฺริก] (กลอน) ว. กระเกริก, เสียงดังอึกทึก, เช่น กระเกรอกทงงท้องธรณี. (สมุทรโฆษ).
กษีร,กษีร-,กษีระ
หมายถึง[กะสีระ] (แบบ) น. นํ้านม เช่น กษีรสุทธมฤธู. (เสือโค). (ส.).
กุมภนิยา
หมายถึงน. ชื่อพิธีชุบศรพรหมาสตร์ของอินทรชิตในเรื่องรามเกียรติ์.
นิพิท,นิเพท
หมายถึง[นิพิด, นิเพด] (แบบ) ก. ให้รู้ชัด, บอก. (ป. นิ + วิท).
สรทะ
หมายถึง[สะระ-] น. ฤดูใบไม้ร่วง, ฤดูสารท. (ป.; ส. ศรท).
อปโลกน์,อปโลกน์,อุปโลกน์
หมายถึง[อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า. (ป. อปโลกน).
กรู
หมายถึง[กฺรู] น. ข้าวชนิดที่ทำเพื่ออุทิศให้เปรตประเภทหนึ่งในพิธีสารท เรียกว่า ข้าวกรู.