ตัวกรองผลการค้นหา
ธรรมเนียม
หมายถึง[ทำ-] น. ประเพณี, แบบแผน, แบบอย่าง.
ธรรมเนียมประเพณี
หมายถึงน. ประเพณีเกี่ยวกับเรื่องธรรมดาสามัญ ถ้าฝ่าฝืนก็ไม่ถือว่าผิดหรือชั่ว.
ธรรมสามี
หมายถึงน. ผู้เป็นเจ้าของธรรม, พระพุทธเจ้า. (ป. ธมฺมสามิ).
นามธรรม
หมายถึง[นามมะทำ] น. สิ่งที่ไม่มีรูป คือ รู้ไม่ได้ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย รู้ได้เฉพาะทางใจเท่านั้น, คู่กับ รูปธรรม. (ส.; ป. นามธมฺม).
บุคคลธรรมดา
หมายถึง[บุกคน-] น. คน, มนุษย์ปุถุชน.
ปปัญจธรรม
หมายถึง(แบบ) น. ธรรมที่ทำให้เนิ่นช้า คือ ตัณหา มานะ ทิฐิ. (ป.).
โผฏฐัพธรรม
หมายถึงน. สิ่งที่รู้สึกได้ด้วยกาย, สิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย.
พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ
หมายถึง(กฎ) น. บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ตราขึ้นเพื่อกำหนดสาระสำคัญในรายละเอียดในเรื่องที่รัฐธรรมนูญกำหนดหลักการไว้ เพื่อขยายบทบัญญัติในรัฐธรรมนูญ ให้มีความสมบูรณ์ครบถ้วนยิ่งขึ้น เช่น พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง พ.ศ. ๒๕๔๑ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญจะตราขึ้นได้ต่อเมื่อมีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญให้อำนาจไว้โดยเฉพาะ ส่วนกระบวนการตราพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนั้นเหมือนกับการตราพระราชบัญญัติทั่วไป.
ยุติธรรม
หมายถึงน. ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล, เช่น ศาลย่อมทรงไว้ซึ่งความยุติธรรม; ชื่อกระทรวงที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการศาลยุติธรรม แต่ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี. ว. เที่ยงธรรม, ไม่เอนเอียงเข้าข้างใดข้างหนึ่ง, ชอบด้วยเหตุผล, เช่น ราคายุติธรรม กรรมการตัดสินอย่างยุติธรรม.
โลกธรรม
หมายถึง[โลกกะ-] น. เรื่องของโลก, ธรรมดาของโลก ทางพระพุทธศาสนามี ๘ ประการ คือ ๑. มีลาภ ๒. เสื่อมลาภ ๓. มียศ ๔. เสื่อมยศ ๕. สรรเสริญ ๖.นินทา ๗. สุข ๘. ทุกข์. (ส. โลกธรฺม; ป. โลกธมฺม).
สารธรรม
หมายถึง[สาระ-] น. ธรรมเป็นหลักฐาน, ธรรมที่มั่นคง.
กฎธรรมชาติ
หมายถึงน. กฎในเรื่องธรรมชาติ.