ตัวกรองผลการค้นหา
ประหล่ำ
หมายถึงน. เครื่องประดับสำหรับผูกข้อมือ ทำเป็นรูปกลม ๆ สลักเป็นลวดลาย.
โคปผกะ
หมายถึง[โคบผะกะ] (แบบ) น. ตาตุ่ม, ข้อเท้า, ราชาศัพท์ว่า พระโคปผกะ. (ป.).
ตะเกียง
หมายถึงน. หน่อสับปะรดที่แตกออกจากโคนขั้วของผล, หน่อกล้วยไม้ประเภทหวายที่แตกออกจากข้อ.
อาสา
หมายถึงก. เสนอตัวเข้ารับทำ. น. ความหวัง เช่น นิราสา = ความหวังหมดแล้ว คือ ความหมดหวัง, ความต้องการ, ความอยาก. (ป.; ส. อาศา).
ปาราชิก
หมายถึงน. ชื่ออาบัติหนักที่สุดในพระวินัย เมื่อภิกษุล่วงละเมิดแม้เพียงข้อใดข้อหนึ่งต้องขาดจากความเป็นภิกษุทันที บวชเป็นภิกษุอีกไม่ได้ มี ๔ ข้อ คือ ๑. เสพเมถุน ๒. ลักทรัพย์ ๓. ฆ่ามนุษย์ ๔. อวดอุตริมนุสธรรม. ว. ผู้ละเมิดอาบัติปาราชิก เช่น พระปาราชิก. (ป.).
ปล้อง
หมายถึง[ปฺล้อง] น. (๑) ชื่อหญ้าชนิด Hymenachne pseudointerrupta C. Muell. ในวงศ์ Gramineae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ต้นเป็นข้อ ๆ มีไส้ในระหว่างข้อเป็นปุยขาว. (๒) มะเดื่อปล้อง. (ดู มะเดื่อ).
ป้ายยา
หมายถึงชักชวน/ชักจูง ให้เพื่อนอยากได้สิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยการแนะนำข้อดีสารพัด จนเพื่อนต้องซื้อตาม
ขันต่อ
หมายถึงก. กล้าต่อ. (กฎ) น. การต่อรองซึ่งได้เสียกันโดยอาศัยเหตุการณ์ในอนาคตที่ไม่แน่นอนเป็นข้อแพ้ชนะ.
พันธกรณี
หมายถึง[พันทะกะระนี, พันทะกอระนี] น. เหตุแวดล้อมที่เป็นข้อผูกมัด.
จรณะ
หมายถึง[จะระ-] น. ความประพฤติ, ในพระพุทธศาสนาหมายความว่า ข้อปฏิบัติเป็นเครื่องบรรลุวิชชา. (ป.).
สิกขา
หมายถึงน. ข้อที่จะต้องศึกษา, ข้อที่จะต้องปฏิบัติ ได้แก่ ศีล เรียกว่า ศีลสิกขา สมาธิ เรียกว่า จิตสิกขา และปัญญา เรียกว่า ปัญญาสิกขา รวมเรียกว่า ไตรสิกขา; การศึกษา, การเล่าเรียน, เช่น ปริยัติสิกขา ปฏิบัติสิกขา. (ป.; ส. ศิกฺษา).
ของเก่า
หมายถึงน. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็นอาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.